สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง)
Smart Farm and Agricultural Innovation Engineering (Continuing Program)

งาน "เปิดตัวเทคโนโลยีที่เหมาะสม: รับลมหนาว ชมทุ่งดอกเก๊กฮวย" เป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครง การพัฒนาโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ความร้อนเสริมระบบควบคุมแบบ IoT
เป็นโรงอบแห้งที่สามารถอบแห้งได้ 100 ตันสดต่อฤดูกาล สร้างรายได้ในพื้นที่ปีละมากกว่า 8.5 ล้าน โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจาก สวก. ประจำปี 64 ครับ
พบกับแปลงเก๊กฮวยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เก๊กฮวยสีเหลืองพันธ์เหลืองสะโง๊ะ ที่มีกลิ่นหอมคล้ายน้ำผึ้งเมทอล

  • เทคโนโลยีการอบแห้งแสงอาทิตย์ระบบควบคุม IoT โดยใช้พลังงานทดแทนได้ 100
  • พิธีเปิดตัวอาคารศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรอบแห้งที่ใหญ่ที่สุดในเชียงราย โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
  • แปลงสาธิต ดอกเก๊กฮวยสีรุ้ง ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้ง ANN FLN PHN

เป็นนวัตกรรมของมหาลัยแม่โจ้ ที่สามารถใช้งานในพื้นที่ได้จริง

Output: เทคโนโลยีการอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ความร้อนเสริม ระบบควบคุมแบบ IoT ซึ่งสามารถอบแห้งสมุนไพรได้ 100 ตันสด
Outcome: เกิดรายได้กลับสู่เกษตรกรโดยตรง 8.5 ล้าน ทำให้เกษตรกร 170 คนมีรายได้มากกว่า 16,000 บาทต่อเดือนต่อคน

โปรแกรมกิจกรรมอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมนะครับ

หลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการพัฒนานวัตกรรมที่นำไปใช้ต่อยอดได้จริง เพื่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าสินทางเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม

ปรับปรุงข้อมูล : 7/11/2565 14:20:11     ที่มา : สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง)     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 766

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

นักศึกษาสาขาวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยพลังงาน อบรมเกษตรกรชาวเขามูเซอ ในการแปรรูปกล้วยอบแห้ง ทั้งแบบสติก และกล้วยม้วน ภายใต้โครงการ RU ขยายผลโรงอบแสงอาทิตย์ระบบความร้อนเสริม
นักศึกษาสาขาวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยพลังงาน อบรมเกษตรกรชาวเขามูเซอจำนวน 40 คนในการแปรรูปกล้วยอบแห้ง ทั้งแบบสติก และกล้วยม้วน ภายใต้โครงการ RU ขยายผลโรงอบแสงอาทิตย์ระบบความร้อนเสริม ได้รับทุนอุดหนุนจาก สวก. ประจำปีงบประมาณ 2566โรงอบแสงอาทิตย์ระบบพลังงานความร้อนเสริม ขนาด 8×6.2 สามารถแปรรูปกล้วยได้ครั้งละ 350-500 กิโลกรัม (ได้ผลิตภัณฑ์ 100-120 กิโลกรัม) ต่อรอบการผลิตปัจจุบันได้นำผลิตภัณฑ์จำหน่ายที่โป่งน้ำร้อนให้นักท่องเทียว และมูลนิธิโครงการหลวงช่วยจำหน่าย จนมีรายได้ปีละ 60,000 บาท จากเดิมไม่มีรายได้เลย.....สอดคล้องกับ โครงการหลวงโมเดล....
23 กุมภาพันธ์ 2567     |      151
รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 ของการประกวดสิ่งประดิษฐ์ ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International seminar and Innovation "Competition of technology and Innovation" for high value creation and agricultural product under New Southbound Policy collaboration ณ ประเทศไทยเป
รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 ของการประกวดสิ่งประดิษฐ์ ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International seminar and Innovation "Competition of technology and Innovation" for high value creation and agricultural product under New Southbound Policy collaboration ณ ประเทศไทยเป เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2566 จากผลงานจำนวน 31 ชิ้น จากประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอินเดีย ประเทศไทเป สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศไทย จุดเด่นของโครงการ เป็นนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ โดยสามารถนำเทคโนโลยี IoT ที่เหมาะสมไปพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรแปรรูปในพื้นที่สูง (appropriate technology for area based approach) ในการแปรรูปสมุนไพรอบแห้ง (ชาดอกไม้) ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ จังหวัดเชียงราย สามารถแปรรูปพืชสมุนไพรอบแห้ง ที่มีความสะอาดตามมาตรฐานความปลอดภัย สามารถลดการใช้พลังงานความร้อน และสามารถนำไปใช้ในการอบแห้งในปริมาณมากได้ โดยในปี 2564-2565 ทางศูนย์ฯ สะโง๊ะ สามารถอบแห้งพืชสมุนไพรได้มากกว่า 100 ตันสด ได้ผลิต 10 ตันแห้ง เกิดรายได้มูลค่า 8.5 ล้าน กระจายสู่เกษตรกรในพื้นที่จำนวน 700 คน สิ่งประดิษฐ์ ดังกล่าวเป็น outcome และ output จากโครงการวิจัย การพัฒนาโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบให้ความร้อนเสริมควบคุมแบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีไอโอที (PRP6405031990) ได้รับทุนสนับสนุนจากภายใต้กรอบการวิจัยด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรประจำปี 2564 ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) โดยมี ผศ.ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหัวหน้าโครงการ และเป็นผู้ประดิษฐ์
15 พฤษภาคม 2566     |      587
อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร ได้พัฒนาเครื่องอบแห้งมะม่วงระบบ Air drying รวมกับเทคโนโลยี PCO สำหรับการผลิตมะม่วงในระดับอุตสาหกรรม
แนวทางที่สำคัญของการแก้ไขปัญหาราคามะม่วงตกต่ำ คือการแปรรูป ณ แหล่งผลิต (แหล่งปลูก) โดยผลงานล่าสุดของ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร ได้พัฒนาเครื่องอบแห้งมะม่วงระบบ Air drying รวมกับเทคโนโลยี PCO สำหรับการผลิตมะม่วงในระดับอุตสาหกรรม สามารถอบแห้งมะม่วงได้วันละ 1-10 ตันต่อวัน หลักสูตรฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร
20 เมษายน 2566     |      182