สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง)
Smart Farm and Agricultural Innovation Engineering (Continuing Program)
นักศึกษาสาขาวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยพลังงาน อบรมเกษตรกรชาวเขามูเซอ ในการแปรรูปกล้วยอบแห้ง ทั้งแบบสติก และกล้วยม้วน ภายใต้โครงการ RU ขยายผลโรงอบแสงอาทิตย์ระบบความร้อนเสริม
นักศึกษาสาขาวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยพลังงาน อบรมเกษตรกรชาวเขามูเซอจำนวน 40 คนในการแปรรูปกล้วยอบแห้ง ทั้งแบบสติก และกล้วยม้วน ภายใต้โครงการ RU ขยายผลโรงอบแสงอาทิตย์ระบบความร้อนเสริม ได้รับทุนอุดหนุนจาก สวก. ประจำปีงบประมาณ 2566โรงอบแสงอาทิตย์ระบบพลังงานความร้อนเสริม ขนาด 8×6.2 สามารถแปรรูปกล้วยได้ครั้งละ 350-500 กิโลกรัม (ได้ผลิตภัณฑ์ 100-120 กิโลกรัม) ต่อรอบการผลิตปัจจุบันได้นำผลิตภัณฑ์จำหน่ายที่โป่งน้ำร้อนให้นักท่องเทียว และมูลนิธิโครงการหลวงช่วยจำหน่าย จนมีรายได้ปีละ 60,000 บาท จากเดิมไม่มีรายได้เลย.....สอดคล้องกับ โครงการหลวงโมเดล....
23 กุมภาพันธ์ 2567     |      132
รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 ของการประกวดสิ่งประดิษฐ์ ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International seminar and Innovation "Competition of technology and Innovation" for high value creation and agricultural product under New Southbound Policy collaboration ณ ประเทศไทยเป
รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 ของการประกวดสิ่งประดิษฐ์ ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International seminar and Innovation "Competition of technology and Innovation" for high value creation and agricultural product under New Southbound Policy collaboration ณ ประเทศไทยเป เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2566 จากผลงานจำนวน 31 ชิ้น จากประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอินเดีย ประเทศไทเป สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศไทย จุดเด่นของโครงการ เป็นนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ โดยสามารถนำเทคโนโลยี IoT ที่เหมาะสมไปพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรแปรรูปในพื้นที่สูง (appropriate technology for area based approach) ในการแปรรูปสมุนไพรอบแห้ง (ชาดอกไม้) ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ จังหวัดเชียงราย สามารถแปรรูปพืชสมุนไพรอบแห้ง ที่มีความสะอาดตามมาตรฐานความปลอดภัย สามารถลดการใช้พลังงานความร้อน และสามารถนำไปใช้ในการอบแห้งในปริมาณมากได้ โดยในปี 2564-2565 ทางศูนย์ฯ สะโง๊ะ สามารถอบแห้งพืชสมุนไพรได้มากกว่า 100 ตันสด ได้ผลิต 10 ตันแห้ง เกิดรายได้มูลค่า 8.5 ล้าน กระจายสู่เกษตรกรในพื้นที่จำนวน 700 คน สิ่งประดิษฐ์ ดังกล่าวเป็น outcome และ output จากโครงการวิจัย การพัฒนาโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบให้ความร้อนเสริมควบคุมแบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีไอโอที (PRP6405031990) ได้รับทุนสนับสนุนจากภายใต้กรอบการวิจัยด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรประจำปี 2564 ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) โดยมี ผศ.ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหัวหน้าโครงการ และเป็นผู้ประดิษฐ์
15 พฤษภาคม 2566     |      565
อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร ได้พัฒนาเครื่องอบแห้งมะม่วงระบบ Air drying รวมกับเทคโนโลยี PCO สำหรับการผลิตมะม่วงในระดับอุตสาหกรรม
แนวทางที่สำคัญของการแก้ไขปัญหาราคามะม่วงตกต่ำ คือการแปรรูป ณ แหล่งผลิต (แหล่งปลูก) โดยผลงานล่าสุดของ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร ได้พัฒนาเครื่องอบแห้งมะม่วงระบบ Air drying รวมกับเทคโนโลยี PCO สำหรับการผลิตมะม่วงในระดับอุตสาหกรรม สามารถอบแห้งมะม่วงได้วันละ 1-10 ตันต่อวัน หลักสูตรฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร
20 เมษายน 2566     |      166
การเรียนปฏิบัติการเชิง VZB ของหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะ และนวัตกรรมเกษตร ในหัวข้อการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าในกลุ่ม Juice processing
การเรียนปฏิบัติการเชิง VZB ของหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะ และนวัตกรรมเกษตร ในหัวข้อการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าในกลุ่ม Juice processing ประกอบไปด้วย การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และการจัดการของเสียให้เป็นศูนย์ โดยภายหลังที่สกัดน้ำส้มและนำเปลือกส้มแยกออกเป็นเนื้อส้ม และเปลือกส้ม โดย เนื้อส้มทำอาหารสัตว์ อาหารปลาอัดเม็ด ส่วนเปลือกส้มเอาไปกลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหย และกากที่เหลือจากการทำน้ำหอมระเหยเอาไปทำปุ๋ยหมักเกิดรายได้จำหน่ายน้ำส้ม 1,700 บาทน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้ม กำไร 4,650 บาท อาหารสัตว์จากเนื้อส้ม 700 บาทปุ๋ยอินทรีย์ 100 บาทเกิดรายได้รวม 7,150 บาท จากการลงทุน ประมาณ 1,000 บาทการเรียนปฏิบัติการเชิง VZB ช่วยทำให้เข้าใจว่าเทคโนโลยีอะไรเหมาะสม (appropriate technology) ในการ value added innovation+zero waste +BCGs ด้วยการปฏิบัติจริง
13 กุมภาพันธ์ 2566     |      1440
โครงการวิศวกรรม หลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร สุดเจ๋ง นำไปใช้งานได้จริง
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมมูลนิธิโครงการหลวงสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร เข้าร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมมูลนิธิโครงการหลวงสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ในโอกาสนี้ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวงให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน สำหรับการจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้/นวัตกรรมของมูลนิธิโครงการหลวงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สู่เกษตรกร เยาวชนและผู้ที่สนใจ โดยภายในงานมีกิจกรรมหลายด้าน อาทิ ด้านการพัฒนาพันธุ์พืช เทคโนโลยีการจัดการด้านอาหารพืช การอารักขาพืช เทคโนโลยี SMART FRAMING เทคโนโลยีด้านแปรรูปและเพิ่มมูลค่า การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชุมชนต้นแบบโครงการหลวง และผลงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานสนับสนุน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เข้าร่วมการจัดนิทรรศการให้องค์ความรู้ เรื่อง “การพัฒนากระบวนการแปรรูปพลับหมาด" ซึ่งเป็นโครงการวิศวกรรมของนักศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และหัวหน้าโครงการวิจัย โดยได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยจาก สวก ประจำปีงบประมาณ 2565
10 กุมภาพันธ์ 2566     |      933
การเรียนรู้ภาคปฏิบัติ "Juice Processing" เน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติด้วยเทคโนโลยีแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า
แนวทางพัฒนาบัณฑิตของสาขาวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติด้วยเทคโนโลยีแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า จากห้องปฏิบัติการ (Lab) สู่การเป็นผู้ประกอบการ เลป juice processing ได้ผลิตน้ำส้มจำหน่ายเริ่มจากการเตรียมวัสดุดิบที่ถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัย GMP และ การใช้เทคโนโลยีการแปรรูปสมัยใหม่เพื่อลดเวลาการผลิต เช่นการใช้ UV-C ร่วมกับ Thermal processing ควบคู่กับการปรับ pH ให้ต่ำกว่า 4.6 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพาสเจอร์ไรส์ รวมถึง thermal shock ทำให้น้ำส้มมีอายุการเก็บรักษานานถึง 30 วันโดยเริ่มต้นทำ 200 กระป๋อง และจำหน่ายจนเกิดกำไร 4,200 บาทหลักสูตร เน้นลงมือทำ ลงมือขายภายใต้สถานที่จริง ราคาส้ม 8 โล 100 แค่เพียง 3 ชั่วโมง จำหน่ายได้เงิน 7,000 กำไร 4,200 บาท
8 กุมภาพันธ์ 2566     |      796
แนวการพัฒนาบัณฑิตของสาขาวิชา วิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร
หลังจากที่ นศ. พัฒนาและประกอบเครื่องอบแห้งเสร็จแล้วเราจะยกเครื่องอบแห้งไปที่สถานประกอบการ เพื่อทดสอบและเก็บข้อมูลในสถานที่จริง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นความจริงมากที่สุด.....ตามนโยบายของ อว. กำหนดให้แม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มสอง มหาวิทยาลัยด้านนวัตกรรมนวัตกรรม = เทคโนโลยีที่ใช้งานได้จริงปัจจุบัน มูลนิธิโครงการหลวง มูลนิธิร้อยใจรักษ์ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และวิสาหกิจ มีความต้องการนวัตกรรมเครื่องจักรแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และที่เป็นแหล่งแปรรูปเพื่อทดสอบเครื่องจักรภายใต้โครงการวิจัยต่างๆการดำเนินงานของหลักไม่ต้องใช้งบประมาณของมหาลัยเลย เพราะเครื่องจักรเราเป็นที่ยอมรับ ผปก. ออกเฉพาะค่าวัสดุ เราก็ฝึกนักศึกษาพร้อมกับพัฒนาเครื่องจักร ส่งไปเก็บข้อมูลจริง นักศึกษาได้เพิ่มทักษะด้านวิศวกรรม ได้ประโยชน์โดยทั่วหน้า และเราก็พึ่งตัวเอง
6 กุมภาพันธ์ 2566     |      213
บรรยากาศการเรียนการสอนรายวิชา "เทคโนโลยีและนวัตกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์" การเรียนที่เน้นปฏิบัติและการทำงานจริงในพื้นที่จริง
หลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนเน้นการทำงานจริงในพื้นที่จริง โดยในการเรียนการสอนรายวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ ซึ่งเน้นการเรียนการสอนเกี่ยวการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อเพิ่มมูลค่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566  มีนักศึกษาซึ่งเป็นศิษย์เก่าจากวิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรพะเยา ได้น้ำส้มเบอร์ 1 และเบอร์ 0 ซึ่งเป็นส้มตกเกรดคัดทิ้ง มาทดสอบแปรรูปเป็นน้ำส้มเพื่อจำลองการเป็นผู้จัดจำหน่าย พบว่า ส้ม 10 กิโลกรัม สามารถคัดน้ำส้ม 8.2 ลิตร สร้างกำไรได้ถึง 1,100 บาท
1 กุมภาพันธ์ 2566     |      292
ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในงานวันถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตพืชเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปพืชอบแห้ง
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ ร่วมกับฝ่ายสถานีวิจัยและศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ฝ่ายงานวิจัยและพัฒนา สำนักงานมูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ได้จัดงานวันถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตพืชเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปพืชอบแห้ง และอาคารศูนย์การเรียนรู้ ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ โดยมี นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน และ ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เปิดตัวเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดย ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยได้อุดหนุนทุนวิจัยซึ่งดำเนินวิจัยในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ จำนวน 4 โครงการ สร้างรายได้รวมมากกว่า 90 ล้าน (2556-2565) สร้างรายได้ให้เกษตรกร จำนวน136 ครัวเรือน หรือมีผู้ได้รับประโยชน์มากกว่า 700 คน High Impact โดยนายอำเภอเชียงราย เกษตรตำบล และหัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงฯ จำนวน 38 ศูนย์ และตัวแทนเกษตรกรผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 334 รายเป็นโครงการที่ได้รับการยอมรับว่า ตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ดีที่สุดในรอบ 45 ปี ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ
3 มกราคม 2566     |      319
ทั้งหมด 3 หน้า