สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง)
Smart Farm and Agricultural Innovation Engineering (Continuing Program)
นักศึกษาสาขาวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยพลังงาน อบรมเกษตรกรชาวเขามูเซอ ในการแปรรูปกล้วยอบแห้ง ทั้งแบบสติก และกล้วยม้วน ภายใต้โครงการ RU ขยายผลโรงอบแสงอาทิตย์ระบบความร้อนเสริม
นักศึกษาสาขาวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยพลังงาน อบรมเกษตรกรชาวเขามูเซอจำนวน 40 คนในการแปรรูปกล้วยอบแห้ง ทั้งแบบสติก และกล้วยม้วน ภายใต้โครงการ RU ขยายผลโรงอบแสงอาทิตย์ระบบความร้อนเสริม ได้รับทุนอุดหนุนจาก สวก. ประจำปีงบประมาณ 2566โรงอบแสงอาทิตย์ระบบพลังงานความร้อนเสริม ขนาด 8×6.2 สามารถแปรรูปกล้วยได้ครั้งละ 350-500 กิโลกรัม (ได้ผลิตภัณฑ์ 100-120 กิโลกรัม) ต่อรอบการผลิตปัจจุบันได้นำผลิตภัณฑ์จำหน่ายที่โป่งน้ำร้อนให้นักท่องเทียว และมูลนิธิโครงการหลวงช่วยจำหน่าย จนมีรายได้ปีละ 60,000 บาท จากเดิมไม่มีรายได้เลย.....สอดคล้องกับ โครงการหลวงโมเดล....
23 กุมภาพันธ์ 2567     |      132
การเรียนรู้ภาคปฏิบัติ "Juice Processing" เน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติด้วยเทคโนโลยีแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า
แนวทางพัฒนาบัณฑิตของสาขาวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติด้วยเทคโนโลยีแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า จากห้องปฏิบัติการ (Lab) สู่การเป็นผู้ประกอบการ เลป juice processing ได้ผลิตน้ำส้มจำหน่ายเริ่มจากการเตรียมวัสดุดิบที่ถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัย GMP และ การใช้เทคโนโลยีการแปรรูปสมัยใหม่เพื่อลดเวลาการผลิต เช่นการใช้ UV-C ร่วมกับ Thermal processing ควบคู่กับการปรับ pH ให้ต่ำกว่า 4.6 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพาสเจอร์ไรส์ รวมถึง thermal shock ทำให้น้ำส้มมีอายุการเก็บรักษานานถึง 30 วันโดยเริ่มต้นทำ 200 กระป๋อง และจำหน่ายจนเกิดกำไร 4,200 บาทหลักสูตร เน้นลงมือทำ ลงมือขายภายใต้สถานที่จริง ราคาส้ม 8 โล 100 แค่เพียง 3 ชั่วโมง จำหน่ายได้เงิน 7,000 กำไร 4,200 บาท
8 กุมภาพันธ์ 2566     |      796
คณาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากโครงการวิจัย
เมื่อวันที่ 10-11 พ.ย.2565 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ สวก. ได้ร่วมกันจัดนิทัศน์การแสดงผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากโครงการวิจัย ได้แก่ โครงการการพัฒนาโรงอบแสงอาทิตย์ความร้อนเสริมระบบควบคุมแบบ IoT ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ และการพัฒนาการแปรรูปพลับหมาดของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ โดยเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ได้จากโครงการวิจัยทั้ง 2 โครงการสามารถแก้ไขปัญหาในท้องทีได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้มากกว่า 10.9 ล้าน และ 3 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมี ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ เป็นหัวหน้าโครงการทั้งสองโครงการการเรียนการสอนของหลักสูตรฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร นั้นได้เน้นการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตทางการเกษตรราคากต่ำ โดยหลักสูตรถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่น และเกิดการบูรณาการศาสตร์ของการผลิต เช่น สาขาพืช สาขาสัตว์ และประมง เพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดมูลค่าด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมดังจะเห็นได้จากสองโครงการวิจัยที่กล่าวมาขั้นต้น ทำให้เกิดองค์ความรู้กระจายสู่ชุมชน จนเกิดเป็นรายได้อย่างเป็นรูปธรรม โครงการวิจัยทั้งสองโครงการได้รับคำชื้นชมจาก องค์มนตรีทั้ง 2 ท่าน และหน่วยงานวิจัยระดับประเทศ ว่าเป็นโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับ BCG และ SDG
15 พฤศจิกายน 2565     |      999
องคมนตรีประชุมติดตามการดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวง ประจำเดือน กันยายน 2565
วันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 09.00 น. พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง เป็นประธานการประชุมมูลนิธิโครงการหลวง ประจำเดือนกันยายน 2565 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารปฏิบัติการ 1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ จ.เชียงใหม่ ร่วมกับการประชุมผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ เพื่อรับฟังการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้มูลนิธิโครงการหลวงยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เตรียมขยายสู่การทดลองตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ชา ผลิตภัณฑ์กาแฟโครงการหลวงชนิดผสม ชาไทยผงชงละลาย วุ้นแบคทีเรียเซลลูโลส ควินัวสเปรด และยังได้วิจัยการพัฒนากระบวนการแปรรูป พลับหมาด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟามอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภายใต้การสนับสนุนงบการวิจัยของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) "ภาพและเนื้อหาข่าว จากข่าวประชาสัมพันธ์โครงการหลวง วันที่ 15 ก.ย. 65"
3 ตุลาคม 2565     |      649
คณาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมหารือเรื่อง การบริหารจัดการฟาร์ม ร่วมกับ บริษัทสยามคูโบต้า
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00 - 16.00 น. ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมด้วย ผู้อำนวยการกองแผนงาน , รองผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ , รองคณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน, คณาจารย์ผู้รับผิดชอลหลักสูตร และ บุคลากรฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ  หารือร่วมกับ ผู้บริหาร ทีมงาน บริษัทสยามคูโบต้า และ บริษัท เกษตรอินโน จำกัด ถึงแนวทางการพัฒนาหลักสูตรผู้จัดการฟาร์ม ดังประเด็นต่อไปนี้    1. การออกแบบหลักสูตรผู้จัดการฟาร์มให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย    2. การส่งนักศึกษาที่จบใหม่ เข้าอบรมเพื่อพัฒนาการเป็นผู้จัดการฟาร์ม (รุ่นที่ 2 กำหนดรับสมัครเดือนสิงหาคม 2565 และ จัดอบรมในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2565)    3. การให้คำปรึกษาการเพาะปลูกโดยอาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจในโครงการของบริษัทเกษตรอินโน เอกสารแนบ 1. หนังสือขอเข้าพบ 2. สรุปประเด็นจากการประชุม
26 กรกฎาคม 2565     |      322
วิทยาลัยพลังงานทดแทนจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการ กับ โรงเรียนเทคนิควิชาชีพแบบผสมน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
           เมื่อวันที่ 11 กรกรฏาคม 2565  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติกร สาสุจิตต์ รองคณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทนฝ่ายบริหาร และ อาจารย์ ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร ร่วม ลงนามบันทึกความตกลงทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยวิทยาลัยพลังงานทดแทน กับ โรงเรียนเทคนิควิชาชีพแบบผสมน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ โรงเรียนเทคนิควิชาชีพแบบผสมน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว            โดยมีวัตถุประสงค์และขอบเขตความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมพัฒนากิจกรรมทางวิชาการ ทั้งด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านวิชาชีพ เทคโนโลยีพลังงานและอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ 
12 กรกฎาคม 2565     |      596
กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2565 ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน กล่าวต้อนรับนักศึกษาใหม่  พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ ไชยชนะ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนานักศึกษา กล่าวแนะนำสถานที่พร้อมวิธีปฏิบัติตนของนักศึกษา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รจพรรณ นิรัญศิลป์ กล่าวแนะนำบุคลากรของวิทยาลัยพลังงานทดแทนนอกจากนั้น อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร นำโดยรองศาสตราจารย์เสมอขวัญ ตันติกุล ประธานคณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร ได้กล่าวต้อนรับและให้โอวาสกับนักศึกษาใหม่ของหลักสูตร พร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย มณีชูเกตุ ได้ชี้แจงนักศึกษาถึงแผนการศึกษาตลอดหลักสูตร และ อาจารย์อุทัยวรรณ ศรีวิชัย ได้ให้ข้อมูลเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา กับนักศึกษาใหม่สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
12 กรกฎาคม 2565     |      251
หลักสูตรฯ จัด "โครงการพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะ (High Quality Engineering)”
           สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉนริยะและนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยพลังงานทดแทน จัดฝึกอบรม “โครงการพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะ (High Quality Engineering)” เป็นโครงการภายใต้ โครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ (SMATI) ปีงบประมาณ 2564  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับบุคลากรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่  ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยที่มีเป้าหมายจะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านเกษตรอัจฉริยะ (Intelligent Agriculture) มีความพร้อมที่จะพัฒนาบุคลากรตลอดช่วงอายุ และนโยบายการผลิตกำลังคนของกระทรวงอุดมศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญและชำนาญด้านเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ โดยมุ่งเน้นพัฒนากำลังคนด้าน (1) วิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะ และ (2) นวัตกรรมเกษตร  โดยเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และหน่วยงานภายนอก อาทิเช่น โครงการหลวง  นอกจากนั้นผู้ร่วมโครงการจะได้เพิ่มประสบการณ์และพัฒนาทักษะด้านฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร จากการเข้าศึกษาดูงาน โรงงานแปรรูปกัญชา กัญชง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ , โรงเรือนอัจฉริยะ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ จังหวัดเชียงราย อีกด้วย           ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “แนวทางการพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะ High Quality Engineering ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้”  มีกำหนดจัดโครงการจำนวน 2 รุ่น ประกอบด้วย รุ่นที่ 1สำหรับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ในระหว่างวันที่ 21 – 25 มิถุนายน 2565 และ  รุ่นที่ 2 สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร ในระหว่างวันที่ 26 – 30 มิถุนายน 2565รายละเอียดโครงการ : https://sites.google.com/view/mju-smar-farm/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81
27 มิถุนายน 2565     |      287
คณาจารย์ประจำหลักสูตร ชี้แจง "โครงการหลักสูตรและแผนการศึกษา สำหรับนักศึกษารหัส 64" เมื่อวันอังคารที่ 26 เมษายน 2565
เมื่อวันอังคารที่ 26 เมษายน 2565  รองศาสตราจารย์เสมอขวัญ ตันติกุล ประธานคณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้จัดกิจกรรมชี้แจง "โครงการหลักสูตรและแผนการศึกษา สำหรับนักศึกษารหัส 64" เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักศึกษาในการวางแผนการศึกษา และ ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกวิชาเอก และ วิชาเอกเลือกต่อไป ทั้งนี้หลักสูตรมีวิชาเอกและวิชาเอกเลือก ดังนี้    1. วิชาเอก (วิชาชีพ)        1.1 วิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะ        1.2 นวัตกรรมเกษตร    2. วิชาเอกเลือก (เลือก 2 กลุ่มวิชา)        2.1 กลุ่มวิชา การบินโดรนสำรวจทางการเกษตรและการทำแผนที่ทางอากาศ        2.2 กลุ่มวิชา การประกอบการพลังงานแสงอาทิตย์        2.3 กลุ่มวิชา ผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมการแปรรูปฯ        2.4  กลุ่มวิชา การวิเคราะห์ข้อมูลดิจิตอลฯ        2.5 กลุ่มวิชา ผู้ประกอบการด้านการพัฒนาฟาร์มและโรงเรือนอัจริยะ        2.6 กลุ่มวิชา หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตรนอกจากนั้น ทางคณาจารย์ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันกับนักศึกษาในเรื่องการเรียนการสอนของปีการศึกษา 2564 ที่ผ่านมา เพื่อสะท้อนข้อมูลให้กับอาจารย์ผู้สอน และ ใช้ประกอบการวางแผนการศึกษาในปีการศึกษาต่อๆ ไปทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวมีนักศึกษาเข้าร่วมทั้งแบบ Onsite และ Onlineเอกสารประกอบกิจกรรม
4 พฤษภาคม 2565     |      235
ทั้งหมด 1 หน้า