สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง)
Smart Farm and Agricultural Innovation Engineering (Continuing Program)
นักศึกษาสาขาวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยพลังงาน อบรมเกษตรกรชาวเขามูเซอ ในการแปรรูปกล้วยอบแห้ง ทั้งแบบสติก และกล้วยม้วน ภายใต้โครงการ RU ขยายผลโรงอบแสงอาทิตย์ระบบความร้อนเสริม
นักศึกษาสาขาวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยพลังงาน อบรมเกษตรกรชาวเขามูเซอจำนวน 40 คนในการแปรรูปกล้วยอบแห้ง ทั้งแบบสติก และกล้วยม้วน ภายใต้โครงการ RU ขยายผลโรงอบแสงอาทิตย์ระบบความร้อนเสริม ได้รับทุนอุดหนุนจาก สวก. ประจำปีงบประมาณ 2566โรงอบแสงอาทิตย์ระบบพลังงานความร้อนเสริม ขนาด 8×6.2 สามารถแปรรูปกล้วยได้ครั้งละ 350-500 กิโลกรัม (ได้ผลิตภัณฑ์ 100-120 กิโลกรัม) ต่อรอบการผลิตปัจจุบันได้นำผลิตภัณฑ์จำหน่ายที่โป่งน้ำร้อนให้นักท่องเทียว และมูลนิธิโครงการหลวงช่วยจำหน่าย จนมีรายได้ปีละ 60,000 บาท จากเดิมไม่มีรายได้เลย.....สอดคล้องกับ โครงการหลวงโมเดล....
23 กุมภาพันธ์ 2567     |      131
การเรียนปฏิบัติการเชิง VZB ของหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะ และนวัตกรรมเกษตร ในหัวข้อการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าในกลุ่ม Juice processing
การเรียนปฏิบัติการเชิง VZB ของหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะ และนวัตกรรมเกษตร ในหัวข้อการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าในกลุ่ม Juice processing ประกอบไปด้วย การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และการจัดการของเสียให้เป็นศูนย์ โดยภายหลังที่สกัดน้ำส้มและนำเปลือกส้มแยกออกเป็นเนื้อส้ม และเปลือกส้ม โดย เนื้อส้มทำอาหารสัตว์ อาหารปลาอัดเม็ด ส่วนเปลือกส้มเอาไปกลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหย และกากที่เหลือจากการทำน้ำหอมระเหยเอาไปทำปุ๋ยหมักเกิดรายได้จำหน่ายน้ำส้ม 1,700 บาทน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้ม กำไร 4,650 บาท อาหารสัตว์จากเนื้อส้ม 700 บาทปุ๋ยอินทรีย์ 100 บาทเกิดรายได้รวม 7,150 บาท จากการลงทุน ประมาณ 1,000 บาทการเรียนปฏิบัติการเชิง VZB ช่วยทำให้เข้าใจว่าเทคโนโลยีอะไรเหมาะสม (appropriate technology) ในการ value added innovation+zero waste +BCGs ด้วยการปฏิบัติจริง
13 กุมภาพันธ์ 2566     |      1440
การเรียนรู้ภาคปฏิบัติ "Juice Processing" เน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติด้วยเทคโนโลยีแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า
แนวทางพัฒนาบัณฑิตของสาขาวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติด้วยเทคโนโลยีแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า จากห้องปฏิบัติการ (Lab) สู่การเป็นผู้ประกอบการ เลป juice processing ได้ผลิตน้ำส้มจำหน่ายเริ่มจากการเตรียมวัสดุดิบที่ถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัย GMP และ การใช้เทคโนโลยีการแปรรูปสมัยใหม่เพื่อลดเวลาการผลิต เช่นการใช้ UV-C ร่วมกับ Thermal processing ควบคู่กับการปรับ pH ให้ต่ำกว่า 4.6 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพาสเจอร์ไรส์ รวมถึง thermal shock ทำให้น้ำส้มมีอายุการเก็บรักษานานถึง 30 วันโดยเริ่มต้นทำ 200 กระป๋อง และจำหน่ายจนเกิดกำไร 4,200 บาทหลักสูตร เน้นลงมือทำ ลงมือขายภายใต้สถานที่จริง ราคาส้ม 8 โล 100 แค่เพียง 3 ชั่วโมง จำหน่ายได้เงิน 7,000 กำไร 4,200 บาท
8 กุมภาพันธ์ 2566     |      796
ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในงานวันถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตพืชเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปพืชอบแห้ง
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ ร่วมกับฝ่ายสถานีวิจัยและศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ฝ่ายงานวิจัยและพัฒนา สำนักงานมูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ได้จัดงานวันถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตพืชเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปพืชอบแห้ง และอาคารศูนย์การเรียนรู้ ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ โดยมี นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน และ ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เปิดตัวเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดย ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยได้อุดหนุนทุนวิจัยซึ่งดำเนินวิจัยในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ จำนวน 4 โครงการ สร้างรายได้รวมมากกว่า 90 ล้าน (2556-2565) สร้างรายได้ให้เกษตรกร จำนวน136 ครัวเรือน หรือมีผู้ได้รับประโยชน์มากกว่า 700 คน High Impact โดยนายอำเภอเชียงราย เกษตรตำบล และหัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงฯ จำนวน 38 ศูนย์ และตัวแทนเกษตรกรผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 334 รายเป็นโครงการที่ได้รับการยอมรับว่า ตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ดีที่สุดในรอบ 45 ปี ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ
3 มกราคม 2566     |      318
ผลงานของคณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
          มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และโครงการร้อยใจรักษ์ เชิญ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะ และนวัตกรรมเกษตร ออกแบบ และพัฒนาเครื่องระเหยน้ำผึ้งภายใต้ระบบสุญญากาศ ในโครงการร้อยใจรักษ์ เพื่อส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกร อันเป็นแนวทางบูรณาการเชื่อมนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตสินค้าทางการเกษตรมูลค่าสูงด้วยเครื่องจักรที่ได้มาตรฐาน และประสิทธิภาพ          สอดคล้องกับการดำเนินโครงการด้านวิศวกรรมของหลักสูตรฯ ที่เน้นการพัฒนาครื่องจักรแปรรูป ที่สามารถนำไปเพิ่มมูลค่าการผลิตสินค้าการเกษตรด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
29 พฤศจิกายน 2565     |      522
คณาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากโครงการวิจัย
เมื่อวันที่ 10-11 พ.ย.2565 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ สวก. ได้ร่วมกันจัดนิทัศน์การแสดงผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากโครงการวิจัย ได้แก่ โครงการการพัฒนาโรงอบแสงอาทิตย์ความร้อนเสริมระบบควบคุมแบบ IoT ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ และการพัฒนาการแปรรูปพลับหมาดของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ โดยเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ได้จากโครงการวิจัยทั้ง 2 โครงการสามารถแก้ไขปัญหาในท้องทีได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้มากกว่า 10.9 ล้าน และ 3 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมี ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ เป็นหัวหน้าโครงการทั้งสองโครงการการเรียนการสอนของหลักสูตรฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร นั้นได้เน้นการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตทางการเกษตรราคากต่ำ โดยหลักสูตรถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่น และเกิดการบูรณาการศาสตร์ของการผลิต เช่น สาขาพืช สาขาสัตว์ และประมง เพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดมูลค่าด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมดังจะเห็นได้จากสองโครงการวิจัยที่กล่าวมาขั้นต้น ทำให้เกิดองค์ความรู้กระจายสู่ชุมชน จนเกิดเป็นรายได้อย่างเป็นรูปธรรม โครงการวิจัยทั้งสองโครงการได้รับคำชื้นชมจาก องค์มนตรีทั้ง 2 ท่าน และหน่วยงานวิจัยระดับประเทศ ว่าเป็นโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับ BCG และ SDG
15 พฤศจิกายน 2565     |      999
งาน "เปิดตัวเทคโนโลยีที่เหมาะสม: รับลมหนาว ชมทุ่งดอกเก๊กฮวย"
งาน "เปิดตัวเทคโนโลยีที่เหมาะสม: รับลมหนาว ชมทุ่งดอกเก๊กฮวย" เป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครง การพัฒนาโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ความร้อนเสริมระบบควบคุมแบบ IoT เป็นโรงอบแห้งที่สามารถอบแห้งได้ 100 ตันสดต่อฤดูกาล สร้างรายได้ในพื้นที่ปีละมากกว่า 8.5 ล้าน โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจาก สวก. ประจำปี 64 ครับ พบกับแปลงเก๊กฮวยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เก๊กฮวยสีเหลืองพันธ์เหลืองสะโง๊ะ ที่มีกลิ่นหอมคล้ายน้ำผึ้งเมทอลเทคโนโลยีการอบแห้งแสงอาทิตย์ระบบควบคุม IoT โดยใช้พลังงานทดแทนได้ 100พิธีเปิดตัวอาคารศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรอบแห้งที่ใหญ่ที่สุดในเชียงราย โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายแปลงสาธิต ดอกเก๊กฮวยสีรุ้ง ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้ง ANN FLN PHNเป็นนวัตกรรมของมหาลัยแม่โจ้ ที่สามารถใช้งานในพื้นที่ได้จริงOutput: เทคโนโลยีการอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ความร้อนเสริม ระบบควบคุมแบบ IoT ซึ่งสามารถอบแห้งสมุนไพรได้ 100 ตันสด Outcome: เกิดรายได้กลับสู่เกษตรกรโดยตรง 8.5 ล้าน ทำให้เกษตรกร 170 คนมีรายได้มากกว่า 16,000 บาทต่อเดือนต่อคนโปรแกรมกิจกรรมอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมนะครับหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการพัฒนานวัตกรรมที่นำไปใช้ต่อยอดได้จริง เพื่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าสินทางเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม
7 พฤศจิกายน 2565     |      759
สุดยอดนวัตกรรมเครื่องอบแห้งระบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Automatic electromagnetic drum roasting) ขนาด 1000-5,000 kg/hr
เครื่องอบแห้งระบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นนวัตกรรมการอบแห้งที่ดีที่สุดในโลก ณ เวลานี้ สามารถอบแห้งพริกแห้ง และพืชสมุนไพรแห้งภายในเวลา 20 นาที มีคุณภาพเทียบเท่าการอบแห้งด้วยคลื่นไมโครเวฟสุญญากาศ และเครื่องอบแห้งสุญญากาศ แต่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 เท่า และใช้พลังงานน้อยกว่า 50 เท่า สามารถอบแห้งได้ครั้งละ 1,000-5,000 กิโลกรัมปัจจุบัน ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร อยู่ในระหว่างการเจรจากับบริษัทผลิต เพื่อนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาพัฒนาเครื่องอบแห้งในประเทศไทย และถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนในงานด้านวิศวกรรมของหลักสูตรฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร ของวิทยาลัยพลังงานทดแทนต่อไป
26 ตุลาคม 2565     |      948
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ สปป.ลาว เข้าชมโครงการวิจัยที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงและเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ณ โครงการหลวงแม่แฮ
รศ.ดร.วีระพล ทองมา พา เจ้าหน้าระดับสูงของกระทรวงกสิกรรม กระทรวงท่องเที่ยว และ กรมการค้าภายในของ สปป.ลาว จำนวน 20 คน เข้าเยี่ยมชมโครงการวิจัยที่ประสบความสำเร็จด้านการนำไปใช้งานได้จริง และเกิดมมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ จังหวัดเชียงใหม่ และได้ฟังบรรยายพิเศษจาก ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ (หัวหน้าโครงการ) ในการดำเนินโครงการด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) สามารถดำเนินการวิจัย ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการในการเพิ่มมูลค่าพลับหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการทำงานวิจัยที่ใช้แก้ปัญหาในพื้นที่ให้เกิดรายได้อย่างเป็นรูปธรรม
18 ตุลาคม 2565     |      187
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกสิกรรม กระทรวงท่องเที่ยว และ กรมการค้าภายในของ สปป.ลาว เข้าชมโครงการวิจัยที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงและเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ
รศ.ดร.วีระพล ทองมา พา เจ้าหน้าระดับสูงของกระทรวงกสิกรรม กระทรวงท่องเที่ยว และ กรมการค้าภายในของ สปป.ลาว จำนวน 20 คน เข้าเยี่ยมชมโครงการวิจัยที่ประสบความสำเร็จด้านการนำไปใช้งานได้จริง และเกิดมมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ได้แก่การพัฒนาสถานที่ฟักไข่สัตว์ปีกตามแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์โครงการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตสำหรับผู้เพาะไข่สัตว์ปีกด้วยเครื่องฟักไข่ระบบอัฒโนมัติ และสถานที่ฟักไข่สัตว์ปีก ที่ฟาร์มอำเภอใจ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้กลุ่มวิสาหกิจของฟาร์มอำเภอใจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 200,000 บาท (รายการ อธิการชวนรวย ตอนเครื่องฟักไข่อัฉจริยะโดยมี ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ เป็นหัวหน้าโครงการทั้งสองโครงการการดำเนินโครงการวิจัยของหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาการผลิตสินค้าทางการเกษตร และเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร เพื่อเพิ่มทักษะด้านวิศวกรรมให้กับ นศ.ระดับชั้น ปวส. เป็นวิศวกรด้านการเกษตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
18 ตุลาคม 2565     |      674
ผลงานและโครงการวิจัยสุดเจ๋ง คาดว่าสามารถทำรายได้..ให้เกษตรกรบ้านแม่แฮนับล้าน
หลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการพัฒนานวัตกรรมเกษตรแบบครบวงจร ตัวอย่างโครงการวิจัยการแปรรูปพลับหมาด ที่ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ จังหวัดเชียงใหม่การพัฒนาเครื่องอบแห้งระบบถาดหมุนแบบสองขั้นตอน รองรับ การอบแห้งพลับครั้งละ 600 กิโลกรัมการปรับปรุงโรงงานให้สอดคล้องกับมาตรฐาน GMP และรองรับ อ.ย. สถานที่ผลิตอาหารสามารถพัฒนาผลิตชิ้นพลับสีทองเพื่อจำหน่ายได้ คาดว่าสามารถทำให้ เกิดรายได้ให้กับชุมชน เฉลี่ยปีละ 1.7 - 2.0 ล้านบาทการเรียนการสอนของหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการทำงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology)ผลงานของ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ และได้ทุนอุดหนุนจาก สวก. ประจำปีงบประมาณ 2565
18 ตุลาคม 2565     |      733
ทั้งหมด 2 หน้า