สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง)
Smart Farm and Agricultural Innovation Engineering (Continuing Program)
ผลงานของคณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
          มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และโครงการร้อยใจรักษ์ เชิญ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะ และนวัตกรรมเกษตร ออกแบบ และพัฒนาเครื่องระเหยน้ำผึ้งภายใต้ระบบสุญญากาศ ในโครงการร้อยใจรักษ์ เพื่อส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกร อันเป็นแนวทางบูรณาการเชื่อมนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตสินค้าทางการเกษตรมูลค่าสูงด้วยเครื่องจักรที่ได้มาตรฐาน และประสิทธิภาพ          สอดคล้องกับการดำเนินโครงการด้านวิศวกรรมของหลักสูตรฯ ที่เน้นการพัฒนาครื่องจักรแปรรูป ที่สามารถนำไปเพิ่มมูลค่าการผลิตสินค้าการเกษตรด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
29 พฤศจิกายน 2565     |      540
คณาจารย์ประจำหลักสูตร ประชาสัมพันธ์หลักสูตรที่สถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษาในภาคเหนือ
คณาจารย์ประจำหลักสูตรฯ ทำการประชาสัมพันธ์หลักสูตร ให้กับนักศึกษาระดับ ปวส. สาขาวิชาด้านอุตสาหกรรม  สาขาวิชาด้านเกษตรกรรม และ สาขาวิชาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ สถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ในภาคเหนือดังนี้วันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 รศ.เสมอขวัญ ตันติกุล ประธานหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง) พร้อมด้วย อ.ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ  ประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้กับนักศึกษาที่ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 รศ.เสมอขวัญ ตันติกุล ประธานหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง) พร้อมด้วย อ.ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ  ประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้กับนักศึกษาที่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา วันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 อาจารย์อุทัยวรรณ ศรีวิชัย พร้อมด้วย อาจารย์ทัศนีย์ ชัยยา ประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้กับนักศึกษาที่ วิทยาลัยเทคนิคลำพูนวันที่ 24 พฤศจิการยน 2565 ผศ.ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้กับนักศึกษาที่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่
28 พฤศจิกายน 2565     |      189
คณาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากโครงการวิจัย
เมื่อวันที่ 10-11 พ.ย.2565 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ สวก. ได้ร่วมกันจัดนิทัศน์การแสดงผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากโครงการวิจัย ได้แก่ โครงการการพัฒนาโรงอบแสงอาทิตย์ความร้อนเสริมระบบควบคุมแบบ IoT ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ และการพัฒนาการแปรรูปพลับหมาดของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ โดยเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ได้จากโครงการวิจัยทั้ง 2 โครงการสามารถแก้ไขปัญหาในท้องทีได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้มากกว่า 10.9 ล้าน และ 3 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมี ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ เป็นหัวหน้าโครงการทั้งสองโครงการการเรียนการสอนของหลักสูตรฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร นั้นได้เน้นการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตทางการเกษตรราคากต่ำ โดยหลักสูตรถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่น และเกิดการบูรณาการศาสตร์ของการผลิต เช่น สาขาพืช สาขาสัตว์ และประมง เพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดมูลค่าด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมดังจะเห็นได้จากสองโครงการวิจัยที่กล่าวมาขั้นต้น ทำให้เกิดองค์ความรู้กระจายสู่ชุมชน จนเกิดเป็นรายได้อย่างเป็นรูปธรรม โครงการวิจัยทั้งสองโครงการได้รับคำชื้นชมจาก องค์มนตรีทั้ง 2 ท่าน และหน่วยงานวิจัยระดับประเทศ ว่าเป็นโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับ BCG และ SDG
15 พฤศจิกายน 2565     |      1018
งาน "เปิดตัวเทคโนโลยีที่เหมาะสม: รับลมหนาว ชมทุ่งดอกเก๊กฮวย"
งาน "เปิดตัวเทคโนโลยีที่เหมาะสม: รับลมหนาว ชมทุ่งดอกเก๊กฮวย" เป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครง การพัฒนาโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ความร้อนเสริมระบบควบคุมแบบ IoT เป็นโรงอบแห้งที่สามารถอบแห้งได้ 100 ตันสดต่อฤดูกาล สร้างรายได้ในพื้นที่ปีละมากกว่า 8.5 ล้าน โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจาก สวก. ประจำปี 64 ครับ พบกับแปลงเก๊กฮวยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เก๊กฮวยสีเหลืองพันธ์เหลืองสะโง๊ะ ที่มีกลิ่นหอมคล้ายน้ำผึ้งเมทอลเทคโนโลยีการอบแห้งแสงอาทิตย์ระบบควบคุม IoT โดยใช้พลังงานทดแทนได้ 100พิธีเปิดตัวอาคารศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรอบแห้งที่ใหญ่ที่สุดในเชียงราย โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายแปลงสาธิต ดอกเก๊กฮวยสีรุ้ง ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้ง ANN FLN PHNเป็นนวัตกรรมของมหาลัยแม่โจ้ ที่สามารถใช้งานในพื้นที่ได้จริงOutput: เทคโนโลยีการอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ความร้อนเสริม ระบบควบคุมแบบ IoT ซึ่งสามารถอบแห้งสมุนไพรได้ 100 ตันสด Outcome: เกิดรายได้กลับสู่เกษตรกรโดยตรง 8.5 ล้าน ทำให้เกษตรกร 170 คนมีรายได้มากกว่า 16,000 บาทต่อเดือนต่อคนโปรแกรมกิจกรรมอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมนะครับหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการพัฒนานวัตกรรมที่นำไปใช้ต่อยอดได้จริง เพื่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าสินทางเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม
7 พฤศจิกายน 2565     |      767
สุดยอดนวัตกรรมเครื่องอบแห้งระบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Automatic electromagnetic drum roasting) ขนาด 1000-5,000 kg/hr
เครื่องอบแห้งระบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นนวัตกรรมการอบแห้งที่ดีที่สุดในโลก ณ เวลานี้ สามารถอบแห้งพริกแห้ง และพืชสมุนไพรแห้งภายในเวลา 20 นาที มีคุณภาพเทียบเท่าการอบแห้งด้วยคลื่นไมโครเวฟสุญญากาศ และเครื่องอบแห้งสุญญากาศ แต่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 เท่า และใช้พลังงานน้อยกว่า 50 เท่า สามารถอบแห้งได้ครั้งละ 1,000-5,000 กิโลกรัมปัจจุบัน ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร อยู่ในระหว่างการเจรจากับบริษัทผลิต เพื่อนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาพัฒนาเครื่องอบแห้งในประเทศไทย และถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนในงานด้านวิศวกรรมของหลักสูตรฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร ของวิทยาลัยพลังงานทดแทนต่อไป
26 ตุลาคม 2565     |      980
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ สปป.ลาว เข้าชมโครงการวิจัยที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงและเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ณ โครงการหลวงแม่แฮ
รศ.ดร.วีระพล ทองมา พา เจ้าหน้าระดับสูงของกระทรวงกสิกรรม กระทรวงท่องเที่ยว และ กรมการค้าภายในของ สปป.ลาว จำนวน 20 คน เข้าเยี่ยมชมโครงการวิจัยที่ประสบความสำเร็จด้านการนำไปใช้งานได้จริง และเกิดมมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ จังหวัดเชียงใหม่ และได้ฟังบรรยายพิเศษจาก ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ (หัวหน้าโครงการ) ในการดำเนินโครงการด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) สามารถดำเนินการวิจัย ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการในการเพิ่มมูลค่าพลับหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการทำงานวิจัยที่ใช้แก้ปัญหาในพื้นที่ให้เกิดรายได้อย่างเป็นรูปธรรม
18 ตุลาคม 2565     |      193
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกสิกรรม กระทรวงท่องเที่ยว และ กรมการค้าภายในของ สปป.ลาว เข้าชมโครงการวิจัยที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงและเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ
รศ.ดร.วีระพล ทองมา พา เจ้าหน้าระดับสูงของกระทรวงกสิกรรม กระทรวงท่องเที่ยว และ กรมการค้าภายในของ สปป.ลาว จำนวน 20 คน เข้าเยี่ยมชมโครงการวิจัยที่ประสบความสำเร็จด้านการนำไปใช้งานได้จริง และเกิดมมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ได้แก่การพัฒนาสถานที่ฟักไข่สัตว์ปีกตามแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์โครงการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตสำหรับผู้เพาะไข่สัตว์ปีกด้วยเครื่องฟักไข่ระบบอัฒโนมัติ และสถานที่ฟักไข่สัตว์ปีก ที่ฟาร์มอำเภอใจ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้กลุ่มวิสาหกิจของฟาร์มอำเภอใจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 200,000 บาท (รายการ อธิการชวนรวย ตอนเครื่องฟักไข่อัฉจริยะโดยมี ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ เป็นหัวหน้าโครงการทั้งสองโครงการการดำเนินโครงการวิจัยของหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาการผลิตสินค้าทางการเกษตร และเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร เพื่อเพิ่มทักษะด้านวิศวกรรมให้กับ นศ.ระดับชั้น ปวส. เป็นวิศวกรด้านการเกษตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
18 ตุลาคม 2565     |      682
ผลงานและโครงการวิจัยสุดเจ๋ง คาดว่าสามารถทำรายได้..ให้เกษตรกรบ้านแม่แฮนับล้าน
หลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการพัฒนานวัตกรรมเกษตรแบบครบวงจร ตัวอย่างโครงการวิจัยการแปรรูปพลับหมาด ที่ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ จังหวัดเชียงใหม่การพัฒนาเครื่องอบแห้งระบบถาดหมุนแบบสองขั้นตอน รองรับ การอบแห้งพลับครั้งละ 600 กิโลกรัมการปรับปรุงโรงงานให้สอดคล้องกับมาตรฐาน GMP และรองรับ อ.ย. สถานที่ผลิตอาหารสามารถพัฒนาผลิตชิ้นพลับสีทองเพื่อจำหน่ายได้ คาดว่าสามารถทำให้ เกิดรายได้ให้กับชุมชน เฉลี่ยปีละ 1.7 - 2.0 ล้านบาทการเรียนการสอนของหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการทำงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology)ผลงานของ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ และได้ทุนอุดหนุนจาก สวก. ประจำปีงบประมาณ 2565
18 ตุลาคม 2565     |      746
ข่าวในพระราชสำนัก โครงการวิจัย การพัฒนาโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ควบคุมระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี IoT และการพัฒนายาสมุนไพรคุณภาพสูงครบวงจรด้วยโรงเรือนอัฉจริยะ ที่ได้ดำเนินการในพื้นที่โครงการหลวง
รศ.ดร.วีระพล ทองมา อดิการบดีมหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนมอบเครื่องอบแห้งระบบถาดหมุนจำนวน 3 เครื่องให้กับมูลนิธิโครงการหลวง  ภายใต้การดำเนินโครงการวิจัย "การพัฒนาโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ควบคุมระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี  IoT  และการพัฒนายาสมุนไพรคุณภาพสูงครบวงจรด้วยโรงเรือนอัฉจริยะ" ในพื้นที่โครงการหลวง โดยโครงการวิจัยดังกล่าวโดยเป็นผลงานของผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.
4 ตุลาคม 2565     |      385
การพัฒนาเครื่องฟักไข่อัจฉริยะระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพาณิชย์
หลักสูตรฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการปฏิบัติและบูรณาการระบบความคิดในการออกแบบงานด้านวิศวกรรมอย่างมีระบบ ตัวอย่างการออกแบบเครื่องจักรแปรรูปอาหาร ด้วยโปรแกรมแบบ  3D  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเครื่องจักรด้านการเกษตรต่อไปเป็นผลงานในโครงการ การพัฒนาเครื่องฟักไข่อัจฉริยะระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพาณิชย์ ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับทุนอุดหนุนจาก โครงการ  Innovation hub
4 ตุลาคม 2565     |      299
รายการ Research Update ลำไยทอดสุญญากาศ "ลำไยล้นตลาด ราคาตกต่ำ ทำไงดี"
หลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นนวัตกรรมการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อใช้เพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการทางการตลาด ผลงานของผู้ช่วยนศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ในการพัฒนาเครื่องทอดสุญญากาศ และพัฒนากระบวนการผลิตลำไยกรอบ จนเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันหลักสูตรฯ เน้นการบูรณาการความรู้ทางวิศวกรรมภาคปฏิบัติ เพื่อให้ นศ. เรียนรู้การพัฒนาเครื่องจักรแปรรูป และกระบวนการแปรรูป รวมถึงการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย แบบครบวงจรโครงการวิจัยดังกล่าวได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.
4 ตุลาคม 2565     |      167
รายการ Research cafe ตอน ยกระดับมาตรฐานชาดอกไม้
หลักสูตร วศ.บ.ฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร บูรณาการการเรียนการสอนให้ นศ. สามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการแปรรูปในพื้นที่ได้ ตัวอย่างผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ที่ไปพัฒนาเครื่องอบแห้งดอกเก๊กฮวยในพื้นที่สูง จนสามารถอบแห้งดอกเก๊กฮวยได้มาตรฐานความปลอดภัย และเป็นที่ต้องการของตลาด ปัจจุบันถูกนำไปเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำสมุนไพร ตราดอยคำ สามารถเพิ่มรายได้ในการปลูกดอกเก๊กฮวยขาย จากกิโลกรัมละ 15 บาท เป็น 47 บาทการเรียนการสอนของหลักสูตรจึงมุ้งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรม และพัฒนาเครื่องจักรแปรรูปให้เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ Appropriate Technology เป็นโครงการวิจัยที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยได้รับทุนอุดหนุนโครงการวิจัย จาก สำนักงานการวิจัยเพื่อการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.
4 ตุลาคม 2565     |      180
ทั้งหมด 3 หน้า