สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง)
Smart Farm and Agricultural Innovation Engineering (Continuing Program)
ข่าวในพระราชสำนัก โครงการวิจัย การพัฒนาโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ควบคุมระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี IoT และการพัฒนายาสมุนไพรคุณภาพสูงครบวงจรด้วยโรงเรือนอัฉจริยะ ที่ได้ดำเนินการในพื้นที่โครงการหลวง
รศ.ดร.วีระพล ทองมา อดิการบดีมหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนมอบเครื่องอบแห้งระบบถาดหมุนจำนวน 3 เครื่องให้กับมูลนิธิโครงการหลวง  ภายใต้การดำเนินโครงการวิจัย "การพัฒนาโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ควบคุมระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี  IoT  และการพัฒนายาสมุนไพรคุณภาพสูงครบวงจรด้วยโรงเรือนอัฉจริยะ" ในพื้นที่โครงการหลวง โดยโครงการวิจัยดังกล่าวโดยเป็นผลงานของผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.
4 ตุลาคม 2565     |      385
การพัฒนาเครื่องฟักไข่อัจฉริยะระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพาณิชย์
หลักสูตรฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร เน้นการปฏิบัติและบูรณาการระบบความคิดในการออกแบบงานด้านวิศวกรรมอย่างมีระบบ ตัวอย่างการออกแบบเครื่องจักรแปรรูปอาหาร ด้วยโปรแกรมแบบ  3D  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเครื่องจักรด้านการเกษตรต่อไปเป็นผลงานในโครงการ การพัฒนาเครื่องฟักไข่อัจฉริยะระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพาณิชย์ ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับทุนอุดหนุนจาก โครงการ  Innovation hub
4 ตุลาคม 2565     |      299
รายการ Research cafe ตอน ยกระดับมาตรฐานชาดอกไม้
หลักสูตร วศ.บ.ฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร บูรณาการการเรียนการสอนให้ นศ. สามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการแปรรูปในพื้นที่ได้ ตัวอย่างผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ที่ไปพัฒนาเครื่องอบแห้งดอกเก๊กฮวยในพื้นที่สูง จนสามารถอบแห้งดอกเก๊กฮวยได้มาตรฐานความปลอดภัย และเป็นที่ต้องการของตลาด ปัจจุบันถูกนำไปเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำสมุนไพร ตราดอยคำ สามารถเพิ่มรายได้ในการปลูกดอกเก๊กฮวยขาย จากกิโลกรัมละ 15 บาท เป็น 47 บาทการเรียนการสอนของหลักสูตรจึงมุ้งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรม และพัฒนาเครื่องจักรแปรรูปให้เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ Appropriate Technology เป็นโครงการวิจัยที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยได้รับทุนอุดหนุนโครงการวิจัย จาก สำนักงานการวิจัยเพื่อการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.
4 ตุลาคม 2565     |      180
รวยได้ด้วยนวัตกรรมการพัฒนาเครื่องจักรแปรรูปอาหาร
"แนวการเรียนการสอนของหลักสูตรฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร" เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ภาคปฏิบัติเพื่อต่อยอดเป็นผู้ประกอบการเงินล้าน ตัวอย่างผลงานการพัฒนาเครื่องจักรแปรรูปอาหาร ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ในการพัฒนาเครื่องอบแห้งกุ้งเคย ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทำกะปิ โดยเริ่มจากการที่ผู้ประกอบการทดสอบอบกุ้งเคยด้วยเครื่องอบแห้งที่ถูกพัฒนาโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และต่อยอดเป็นเครื่องอบแห้งระบบควบคุม IoT ขนาด 500 กิโลกรัม โดยมีระบบม่านน้ำ EM  ในการดูดซึมกลิ่น และมีการกระจายความร้อนที่สม่ำเสมอ ปัจจุบันโรงงานสามารถผลิตและมียอดขายหลายสิบล้านต่อปี ภายใต้ผลิตภัณฑ์ กะปิตราชู ตาชั่ง และกำลังส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ มูลค่ามากกว่า 100 ล้านใน 5 ปี
4 ตุลาคม 2565     |      713
องคมนตรีประชุมติดตามการดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวง ประจำเดือน กันยายน 2565
วันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 09.00 น. พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง เป็นประธานการประชุมมูลนิธิโครงการหลวง ประจำเดือนกันยายน 2565 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารปฏิบัติการ 1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ จ.เชียงใหม่ ร่วมกับการประชุมผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ เพื่อรับฟังการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้มูลนิธิโครงการหลวงยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เตรียมขยายสู่การทดลองตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ชา ผลิตภัณฑ์กาแฟโครงการหลวงชนิดผสม ชาไทยผงชงละลาย วุ้นแบคทีเรียเซลลูโลส ควินัวสเปรด และยังได้วิจัยการพัฒนากระบวนการแปรรูป พลับหมาด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมฟามอัฉจริยะและนวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภายใต้การสนับสนุนงบการวิจัยของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) "ภาพและเนื้อหาข่าว จากข่าวประชาสัมพันธ์โครงการหลวง วันที่ 15 ก.ย. 65"
3 ตุลาคม 2565     |      667
ทั้งหมด 2 หน้า